
หากพูดถึงค่าธรรมเนียมซื้อ-ขายหลักทรัพย์ นักลงทุนไทยคงคุ้นชินกับการจ่ายค่าคอมมิชชันเหล่านี้กันดี ซึ่งที่ผ่านมาหลักทรัพย์ในไทยส่วนใหญ่ก็จะมีการเก็บค่าธรรมเนียมประมาณ 0.1%-0.3% ของมูลค่าการซื้อขายหลักทรัพย์ต่อวัน ขึ้นอยู่กับวิธีการซื้อขาย เช่นถ้าซื้อขายผ่านเจ้าหน้าที่ก็จะเสียค่าคอมแพงหน่อย หรือถ้าซื้อขายผ่านอินเตอร์เน็ตด้วยตัวเอง ค่าธรรมเนียมก็ถูกลง แต่ก็ยังมีขั้นต่ำ บางที่ถึงกับมีขั้นต่ำเป็นอัตราคงที่เลยทีเดียว
แต่รู้ไหมครับ? ในต่างประเทศ มีหลักทรัพย์ที่ไร้ค่าคอมมิชชัน หรือที่เรียกว่า ‘Zero-commission trading’ เกิดขึ้นมากมาย ด้วยแนวคิดที่ว่านักลงทุนศึกษาเอง ตัดสินใจเอง กดลงทุนเอง ทำไมจะต้องให้เขามาเสียค่าดำเนินการ? Fintech ชื่อดังอย่าง Robinhood จากสหรัฐอเมริกา เป็นผู้บุกเบิกแนวคิดนี้ด้วยความตั้งใจที่จะให้ผู้คนเข้าถึงโลกการลงทุนได้ง่ายและถูกที่สุด บทความนี้เลยอยากมาเล่าให้ฟังว่า Fintech เหล่านี้เขามี Business Model อย่างไรและรายได้เขามาจากไหนกัน? และในไทยเรามีหรือยัง?
📌 การเกิดขึ้นของ “โบรกเกอร์ไร้ค่าคอม”
ก่อนที่จะมี “โบรกเกอร์ไร้ค่าคอม” หรือฝรั่งเขาเรียกว่า Pre-Robinhood (ยุคก่อน Robinhood) การเริ่มต้นลงทุนเทรดหุ้นเป็นเรื่องยุ่งยากและเสียเวลา ไหนจะเตรียมเอกสารเปิดบัญชี รออนุมัติต่างๆ และค่าธรรมเนียมขั้นต่ำ อย่างในสหรัฐอเมริกา ค่าธรรมเนียมซื้อขายหุ้นจะอยู่ที่ประมาณ $8-$10 ต่อรายการ กลายเป็นอุปสรรคการเริ่มลงทุนของผู้ที่มีเงินทุนน้อย
ในอดีตการลงทุนจะต้องผ่านตัวกลางหรือโบรกเกอร์ (Brokerage) ซึ่งจะแบ่งเป็น 2 แบบคือ
1. Discount Brokerage : คือการที่ลูกค้าถูกจำกัดการบริการ โดยลูกค้าจะไม่ได้รับการบริการให้คำแนะนำการลงทุนหรือ Market research ค่าธรรมเนียมก็จะต่ำหน่อย
2. Full-service Brokerage หรือ การบริการเต็มรูปแบบ: คือโบรกเกอร์จะมีบริการให้คำแนะนำการลงทุน มี Market research ส่งให้ลูกค้า มีเจ้าหน้าที่คอยบริการ ซึ่งรูปแบบนี้ก็จะคิดค่าคอมมิชชันแพงขึ้น เนื่องด้วยต้องมีค่าใช้จ่ายจ้างผู้ดูแลที่มีความรู้ ทั้งยังต้องมีสถานที่คอยบริการลูกค้าอีก
จนกระทั่งหลังจากเกิดวิกฤติเศรษฐกิจปี 2008 ก็เริ่มมี Digital Brokerage หรือ โบรกเกอร์ออนไลน์ถือกำเนิดขึ้น ซึ่งคิดค่าธรรมเนียมถูกลงไปอีก เพราะนักลงทุนสามารถทำรายการด้วยตัวเองผ่านระบบของโบรกเกอร์
และในปี 2013 Robinhood ก็เปิดตัวอย่างเป็นทางการ ซึ่งมา Disrupt วงการธุรกิจโบรกเกอร์โดยการตัดค่าคอมมิชชันซื้อ-ขายหุ้นออกไปเลย ทั้งยังไม่มีเงื่อนไขเงินลงทุนขั้นต่ำ และยังเปิดให้ซื้อขายแบบ Fractional Shares เพื่อที่นักลงทุนจะสามารถซื้อขายเศษส่วนของหุ้นได้ ทำให้ผู้มีเงินทุนน้อยก็สามารถซื้อหุ้นบริษัทยักษ์ใหญ่ที่มีราคาต่อหุ้นสูงมากๆได้
หลังจากนั้นก็มีคู่แข่งเกิดขึ้นตามมามากมายในขณะที่ผู้นำในตลาดหลายเจ้าก็ประกาศเลิกเก็บค่าคอมเพื่อให้สามารถแข่งขันในตลาดได้ เช่น Charles Schwab , Fidelity Investments, E-trade เป็นต้น
📌 แตกต่างจาก Online Brokerage สมัยก่อนอย่างไร?
Robinhood และ Fintech ที่ตามมาทั้งหลาย มีความชัดเจนในกลุ่มเป้าหมาย คือ กลุ่ม Microinvestor หรือ นักลงทุนมือใหม่ อายุน้อย เงินลงทุนไม่เยอะ ให้สามารถเข้าถึงการลงทุนได้ง่ายๆ ดังนั้นไม่ว่าจะเป็นการสมัคร หรือการทำธุรกรรม ก็ต้องทำให้ง่ายกว่าโบรกเกอร์เดิมๆ เช่น
– การเปิดบัญชี สามารถทำได้ออนไลน์ ลดเอกสารที่ไม่จำเป็น
– เครื่องมือและข้อมูลที่ให้นักลงทุนวิเคราะห์ในแอปพลิเคชัน ก็ดูง่ายไม่ซับซ้อน ต่างจากโบรกเกอร์รุ่นเก่าที่จะต้องให้เครื่องมือที่เยอะและยาก เหมาะกับนักลงทุนมืออาชีพ
– ประสบการณ์การทำธุรกรรม(User Experience) ที่ง่าย จำนวนคลิกน้อย ดำเนินการเร็ว
นอกจากความง่ายแล้ว ลูกเล่นของโบรกเกอร์เหล่านี้ก็คือ การเก็บข้อมูลพฤติกรรมลูกค้าและให้รางวัลหรือ rewards เช่นมีการแจกหุ้นให้ผู้เปิดบัญชีใหม่ ซึ่งก็เป็นเทคนิคในการกระตุ้นการซื้อขายให้ผู้เริ่มลงทุน รวมทั้งมีการส่งข้อความ Push Notification แจ้งความเคลื่อนไหวของหุ้นในพอร์ทให้กับนักลงทุนอยู่เสมอ
สิ่งเหล่านี้ทำให้เกิดจุดเปลี่ยนแก่นักลงทุนรุ่นใหม่อย่างมาก จำนวนบัญชีของ Robinhood สามารถเติบโตอย่างก้าวกระโดด จาก 0.5 ล้านบัญชีในปี 2014 สู่ 23 ล้านบัญชีใน Q2 ปี 2022 (ข้อมูล: Statista)
📌 แล้วรายได้มาจากไหน?
เมื่อไม่เก็บค่าคอมมิชชัน ก็มีคำถามเกิดขึ้นมากมายว่าจะอยู่ได้อย่างไร? รายได้มาจากไหน? ซึ่งจริงๆแล้ว Fintech เหล่านี้สามารถหารายได้จากช่องทางอื่น เช่น ดอกเบี้ยจากการให้วงเงิน Margin , การกู้เงินเพื่อลงทุนเพิ่มเติมโดยใช้หลักทรัพย์ค้ำประกันของลูกค้า (Rehypothecation), การเก็บค่าธรรมเนียมจาก Peer-to-peer (P2P) lending หรือผลิตภัณฑ์อื่นๆ, การเก็บค่าสมาชิกเพิ่มเติมหากต้องการอัพเกรดการบริการ เป็นต้น
สำหรับโบรกเกอร์ในอเมริการายได้สำคัญมาจาก Payment for order flow หรือ การขายคำสั่งซื้อขายให้ Market Maker โดย Market Maker ก็จะนำรายการคำสั่งเหล่านี้ไปใช้ประโยชน์ในการทำกำไรส่วนต่างของราคา และแบ่งรายได้กลับมาให้ โบรกเกอร์ แต่ในประเทศไทยยังไม่อนุญาตให้โบรกเกอร์หารายได้ลักษณะนี้
ดังนั้น Fintech แต่ละเจ้าก็จะมีรูปแบบธุรกิจและการหารายได้ที่แตกต่างกัน เพื่อสร้างจุดขายของตัวเอง อย่างไรก็ตามการแข่งขันกันด้วยการลดค่าธรรมเนียมก็ทำให้เกิดข้อดีต่อผู้บริโภค ทำให้ Fintech เหล่านี้แข่งขันกันด้วยผลิตภัณฑ์ การบริการ และแพลตฟอร์มแทน
📌 ในประเทศไทยมี “โบรกเกอร์ไร้ค่าคอม” ไหม?
ในที่สุดประเทศไทยเราก็มี “โบรกเกอร์ไร้ค่าคอม” ที่พึ่งเปิดตัวไปสิ้นปี 2022 นั่นก็คือ #หลักทรัพย์Liberator หลักทรัพย์น้องใหม่ของไทย ที่เป็นแพลตฟอร์มเทรดหุ้นไทยบนช่องทางดิจิตัลเต็มรูปแบบ จุดเด่นคือ ไม่มีค่าคอมมิชชันซื้อขายหุ้นเลย คือ 0% จริงๆ ด้วยเป้าหมายที่จะทำให้เป็น ‘โลกลงทุนที่ทุกคนเท่ากัน’
#Liberator ดำเนินธุรกิจโดยไม่พึ่งรายได้จากค่าธรรมเนียมต่อธุรกรรม แต่รายได้จะมาจากผลิตภัณฑ์การลงทุนอื่นๆ ที่จะเข้ามาเสริมเพิ่มเติมให้แก่ลูกค้าในอนาคตไม่ว่าจะเป็น กองทุน, หุ้นกู้, หลักทรัพย์ต่างประเทศ, P2P Lending และ การให้วงเงิน margin กับลูกค้า
หลักทรัพย์ Liberator เป็นหนึ่งในทางเลือกสำหรับนักลงทุนรุ่นใหม่ ด้วยความเป็น Fintech อย่างเต็มตัว โดยจดทะเบียนจัดตั้งเมื่อวันที่ 1 เมษายน 2565 ด้วยทุนจดทะเบียน 1 พันล้านบาท และ “อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของ ก.ล.ต.” เพราะฉะนั้นมั่นใจได้ในการใช้บริการ และหากท่านใดสนใจเปิดบัญชี ก็สามารถดาวน์โหลดแอปและสมัครออนไลน์ได้เลย ตามลิงค์ด้านล่าง
นี่อาจจะเป็นจุดเปลี่ยนของโลกการลงทุนในไทย ที่ไม่ว่าใครก็เริ่มลงทุนได้ Equality For All
#Liberator #โลกลงทุนที่ทุกคนเท่ากัน #ทันโลกกับTraderKP
Source:
https://www.investopedia.com/investing/free-stock-trading-whats-catch/
https://www.statista.com/statistics/822176/number-of-users-robinhood/