ครั้งหนึ่ง Ray Dalio เคยหมดตัว จนต้องขอยืมเงินพ่อ 4000$

ครั้งหนึ่ง Ray Dalio เคยหมดตัว จนต้องขอยืมเงินพ่อ 4000$ !

“จากวันที่ล้มจนแทบไม่มีที่ยืน สู่การเป็นผู้บริหารกองทุนที่ใหญ่ที่สุดในโลก”

———————-

Ray Dalio เป็นผู้จัดการกองทุนและผู้ก่อตั้งบริษัทจัดการกองทุน Bridgewater Associates ซึ่งเป็นกองทุนที่ใหญ่ที่สุดในโลก เรย์มีกลยุทธ์การลงทุนที่จะเน้นการบริหารให้ความผันผวนของพอร์ตลงทุนต่ำที่สุด

📌จุดเริ่มต้น :

Ray Dalio เกิดที่เมืองนิวยอร์ก ประเทศสหรัฐอเมริกา เขาเติบโตขึ้นมาเป็นเด็กชนชั้นกลาง เมื่ออายุ 12 ปี เขาได้นำเงินเก็บที่ได้จากการทำงานที่สนามกอล์ฟประมาณ 10,000 บาท ไปลงทุนซื้อหุ้นตัวแรกในชีวิต ซึ่งเมื่อเวลาผ่านไป หุ้นตัวนั้นเด้งขึ้นไป 3 เท่า และนั่นนับเป็นความสำเร็จในการลงทุนครั้งแรกของเขา

จากนั้นเขาก็เริ่มสนใจด้านการเงินและตลาดหุ้น เพราะคิดว่าตลาดหุ้นสามารถสร้างกำไรได้ง่ายและรวดเร็ว แต่หลังจากนั้นไม่นาน เขาก็ขาดทุน คืนกำไรที่เคยได้มาให้กับตลาดจนหมด และนั่นยิ่งทำให้เขาสนใจและอยากจะศึกษาหาความรู้เพิ่มขึ้นไปอีก

ในปี 1975 เรย์ได้จัดตั้งบริษัทชื่อว่า Bridgewater Associates ซึ่งใช้อพาร์ตเมนต์ที่เขาอาศัยอยู่ เป็นออฟฟิศของบริษัท โดยในช่วงแรกของบริษัท เรย์ได้เป็นผู้ให้คำแนะนำการลงทุน และดูเศรษฐกิจภาพรวมเท่านั้น

📌การเรียนรู้ครั้งยิ่งใหญ่ :

เมื่อปี 1980 เป็นช่วงที่อเมริกาได้ปล่อยกู้ให้กับประเทศเศรษฐกิจใหม่จำนวนมากและมีแนวโน้มว่าประเทศเหล่านั้นจะเบี้ยวหนี้ครั้งใหญ่

เรย์จับสัญญาได้ว่าหากประเทศเหล่านั้นเบี้ยวหนี้ จะส่งผลให้เศรษฐกิจอเมริกาพังอย่างแน่นอน ซึ่งเหตุการณ์ก็ได้เป็นไปตามที่เขาได้คาดการณ์จริง ๆ คือประเทศเม็กซิโกเริ่มมีการเบี้ยวหนี้ประเทศแรก

และนั่นทำให้เขายิ่งมั่นใจในความคิดของเขา เพราะเป็นไปตามที่คาดการณ์เอาไว้ เขาจึงตัดสินใจ Short สวนทางตลาดแบบทุ่มสุดตัว เทหมดหน้าตัก

แต่เหตุการณ์กลับตัลปัตร ตลาดหุ้นอเมริกากลับพุ่งสูงขึ้นเรื่อย ๆ จนทำให้เรย์ขาดทุนอย่างหนักจนหมดตัว และทำให้ลูกค้าของ Bridgewater เจ๊ง ไม่มีเงินจ้างพนักงาน จนเขาต้องยืมเงินพ่อมาจ่ายค่าดูแลภรรยาและลูกอีก 2 คน

ด้วยเหตุการณ์นี้ ทำให้เขาได้บทเรียนที่ยิ่งใหญ่ แต่เมื่อเขาล้มแล้ว เขาก็ได้เรียนรู้ และลุกขึ้นสู้ต่อด้วยกลยุทธ์การลงทุน Pure Alpha

แม้ว่าความผิดพลาดของเขาในครั้งนี้ จะทำให้ต้องกลับไปเริ่มต้นใหม่จากติดลบ ซึ่งขณะนั้น เรย์มี 2 ทางเลือกก็คือ

1.ใส่สูท ผูกไท ไปทำงานตามบริษัทใน Wall Street หรือ

2.แก้ไขความผิดพลาดและลุกขึ้นสู้ต่อ

ซึ่งเขาก็ตัดสินใจเลือกอย่างหลัง เขามุ่งหน้าเดินต่อในเส้นทางการบริหารกองทุน แม้ว่าตอนนั้นเขาแทบไม่มีเงินจ่ายค่า License Fee ไม่มีเงินบินไปหาลูกค้า ทั้งบริษัทเหลือเพียงแค่เขา

เขาก็ยังคงมุ่งมั่นเรียนรู้จากประสบการณ์ที่ได้รับ อดีตสอนให้รู้ว่า ความมั่นใจที่มากเกินไปกับการไม่ยอมกระจายความเสี่ยงนั้นทำให้เขาตัดสินใจลงทุนผิดพลาด

เรย์จึงได้ใช้วิธีรวบรวมข้อมูล Pattern ของเหตุการณ์ทางเศรษฐศาสตร์ต่าง ๆ มาวิเคราะห์ เพราะเขามองว่าประวัติศาสตร์มักเกิดขึ้นซ้ำรอยเสมอ พร้อมกับใช้คอมพิวเตอร์มาเป็นตัวช่วยในการตัดสินใจ รวมถึงบริหารพอร์ตการลงทุนแบบกระจายความเสี่ยงในหลายสินทรัพย์ จนกลายเป็นรากฐานของ Pure Alpha Growth Strategy

Bridgewater ค่อย ๆ เติบโตขึ้น ในปี 1983 บริษัทมีพนักงาน 6 คน และเติบโตขึ้นเรื่อย ๆ ในช่วงปลายทศวรรษ 1980 จนในปี 1995 มีพนักงาน 42 คน และบริหารกองทุนอยู่ 4.1 พันล้านดอลลาร์ ซึ่งในเวลา 5 ปีต่อมา กองทุนเพิ่มขึ้นหลายเท่าเป็น 3.2 หมื่นล้านดอลลาร์

แต่เมื่อประสบความสำเร็จแล้วก็ไม่ได้แปลว่าจะทำให้ความท้าทาย ความยากหายไป เพราะความท้าทายยังคงเกิดขึ้นในรูปแบบใหม่ “ผมพูดไม่ได้ว่าความท้าทายจะง่ายขึ้นหรือยากขึ้นในช่วงต่าง ๆ … นักกีฬาโอลิมปิกก็มีความท้าทายเหมือนกับนักกีฬามือใหม่” เรย์กล่าว

“ฉันพบว่าคนที่ประสบความสำเร็จส่วนใหญ่ที่ฉันพบ มีความล้มเหลวที่เจ็บปวดครั้งใหญ่กันทั้งนั้น ซึ่งนั่นจะเป็นบทเรียนที่ช่วยสอนให้พวกเขาประสบความสำเร็จในท้ายที่สุด” เรย์กล่าว

และสุดท้ายขอฝากคำคมที่เข้ากับบทความนี้ไว้ว่า

“Only those who dare to fail greatly can ever achieve greatly”

“คนที่กล้าจะพ่ายแพ้เท่านั้น จึงจะประสบความสำเร็จอย่างยิ่งใหญ่”

-Robert F. Kennedy-

บทความโดย #แอดGwang

ใส่ความเห็น

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Twitter picture

You are commenting using your Twitter account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Connecting to %s